初期仏教における聖典成立と修行体系
กำเนิดพระไตรปิฎกและแนวปฏิบัติสู่การตรัสรู้ธรรมในพระพุทธศาสนายุคดั้งเดิม

พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ, พ.บ., ดร.
ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
- อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พุทธศาสตร์)
- อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธศาสตร์) มหาวิทยาลัยโตเกียว (University of Tokyo) ประเทศญี่ปุ่น
- แพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงประวัติศาสตร์และการปฏิบัติธรรมของพระพุทธศาสนายุคต้น โดยอภิปรายประเด็นปัญหาต่าง ๆ ทั้งเรื่องปีพุทธปรินิพพาน กำเนิดพระวินัยปิฎก ถิ่นกำเนิดภาษาบาลี กำเนิดพระสุตตันตปิฎก และแนวทางการปฏิบัติธรรม เช่น มรรคมีองค์แปด เป็นต้น วิธีการที่ใช้ในการอภิปรายและแนวคิดที่นำเสนอในหนังสือเล่มนี้ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน หนังสือเล่มนี้จึงเป็นงานวิจัยที่ไม่อ่านไม่ได้ในการศึกษาวิจัยพระพุทธศาสนาโดยภาพรวม ไม่เพียงแต่พระพุทธศาสนายุคต้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพระพุทธศาสนายุคหลังการแตกนิกายอีกด้วย
บทที่ 1
ได้ศึกษาเรื่องปีพุทธปรินิพพาน โดยตรวจสอบทฤษฎีที่ยืนยันความถูกต้องของหลักฐานจากคัมภีร์บาลีของศรีลังกา กับทฤษฎีที่ยืนยันความถูกต้องของหลักฐานจากคัมภีร์นิกายสรวาสติวาท
บทที่ 2
ได้วิเคราะห์กำเนิดพระวินัยปิฎก โดยพิจารณาเป็นพิเศษถึงความสัมพันธ์ระหว่างเสขิยวัตรกับสิกขาบทเล็กน้อย ลักษณะเฉพาะของพระวินัยรวมถึงคุณลักษณะของมุขปาฐะ
บทที่ 3
ได้วิเคราะห์ถิ่นกำเนิดของภาษาบาลี พัฒนาการของหลักคำสอนกับการกำเนิดพระสุตตันตปิฎก
บทที่ 4
ได้วิเคราะห์เปรียบเทียบหลักปฏิบัติของมรรคมีองค์ 8 กับไตรสิกขา สติปัฏฐาน 4 โพชฌงค์ 7 เพื่อให้ได้ความกระจ่างถึงแนวปฏิบัติสู่การตรัสรู้ธรรมในพระพุทธศาสนายุคดั้งเดิม
